วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550

การออกแบบสื่อ


1.3 การออกแบบสื่อ
องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย
สื่อการสอน คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลาหลักการออกแบบสื่อวัสดุกราฟิก
ก่อนที่จะทำงานออกแบบกราฟิกประเภทใดก็ตาม สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ การกำหนดจุดประสงค์ที่ชัดเจนของงาน เพราะช่องทาง รูปแบบและวิธีการ ของการนำเสนอมีมาก มีความรวดเร็ว ไร้ขอบเขต เช่นใน เว็ปไซต์ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่างๆ ซึ่งต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้ทันเหตุการณ์ อาจจะทำให้เกิดความสับสน ยุ่งยากในการดำเนินงาน มีผลกระทบต่อการทำงาน เกิดความไม่เป็นระบบ มีการสูญเสียและสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น ดังนั้นผู้ออกแบบจึงควรมีหลักการและข้อควรคำนึงก่อนการเริ่มงานเพื่อการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง รัดกุมและวางแผนการดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีตลอดจนจบกระบวนการ ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
หลักการดำเนินงานออกแบบกราฟิกหลักการดำเนินงานและการวางแผน
ขั้นต้นของการออกแบบกราฟฟิกมีดังนี้วัตถุประสงค์เพื่ออะไร ผู้ออกแบบต้องรู้ว่า จะบอกกล่าว เรื่องราวข่าวสารอะไรแก่ผู้รับรู้บ้าง เช่น ทฤษฎีหรือหลักการ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ผู้ออกแบบต้องรู้วิธีการนำเสนอ (Presentation) ที่ดีและเหมาะสมกับเรื่องราวเหล่านั้นว่ามีเป้าหมายของการออกแบบเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด เช่น เพื่อแนะนำ เผยแพร่ เพื่อให้ความรู้ หรือความบันเทิงเป็นต้นกลุ่มเป้าหมายเป็นใคร แบ่งเป็นเพศ ชาย หญิง ่หรือบุคคลทั่วไป มีช่วงอายุเท่าใด นิสิตนักศึกษาหรือเฉพาะกลุ่มสนใจ ข่าวสารที่ให้มีระดับความยาก-ง่าย หรือมีความเป็นสากลหรือไม่ เฉพาะคนในประเทศหรือชาวต่างชาติ ซึ่งผู้ออกแบบจำเป็นจะต้องรู้และเข้าใจเพื่อวางแผน ดำเนินการกับข่าวสาร ออกแบบ และการนำเสนอให้ตรงจุดกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ถูกต้องสิ่งที่ต้องการบอกคืออะไร หมายถึง วิธีการที่จะสื่อความหมายกับผู้รับรู้หรือกลุ่มเป้าหมาย และถ้าที่มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้ล่วงหน้า ชัดเจนแล้วก็จะทำให้ผู้ออกแบบมีความสะดวกในการที่จะบอกหรือสื่อความหมายได้ง่ายขึ้น เช่น การเลือกใช้สัญลักษณ์ เครื่องหมาย และภาพประกอบต่าง ๆสื่อแทนคำศัพท์ ข้อความที่เป็นนามธรรม ได้ตรงตามระดับความสามารถในการรับรู้ของผู้รับ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในความหมายของข่าวสารนั้น ๆ จำได้ในเวลาอันรวดเร็วและจดจำไว้ตลอดไป
นำเสนอข่าวสารด้วยสื่อใด แบบใด ผู้ออกแบบต้องมีความรู้เกี่ยวกับประเภทของสื่อ ศักยภาพของสื่อชนิดต่างๆ คำนึงถึงการเลือกใช้สื่อในการนำเสนอข่าวสารเป็นรูปแบบใด จึงจะได้ผลดีมีความเหมาะสมกับข่าวสาร และผู้ออกแบบควรจะใช้วิธีการจัดการกับข่าวสารนั้น อย่างไร จึงจะสามารถโน้มน้าวจิตใจและสื่อความหมายต่อผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น โปสเตอร์ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯการออกแบบกราฟิก ส่วนใหญ่เป็นวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกถึงการสื่อความหมายในลักษณะของตัวอักษรและภาพในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสื่อสารทางทัศนสัญลักษณ์ (Visual form) ดังนั้นในการออกแบบจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการเรียนรู้เกี่ยว การมองเห็นและจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง
ปัจจุบันวัสดุและเครื่องมือในงานกราฟิก มีการพัฒนาและปรับใช้กับคอมพิวเตอร์มากขึ้น และคอมพิวเตอร์ในหลายโปรแกรม โดยเฉพาะโปรแกรมด้านกราฟิก ก็จะมีแถบเครื่องมือมาให้เลือกใช้ เหมือนกับวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ต้องทำด้วยมือ เช่น มีดินสอ ปากกา พู่กัน สีสเปรย์เหมือนปากกาลม เปลี่ยนขนาดความโตได้หลายขนาด มีถังเทสี เป็นต้น
http://www.edu.nu.ac.th/wbi/355201/graphic_material/graphic_mate
เขียนโดย ละมัย จันทร ที่
12:41 ก่อนเที่ยง 0 ความคิดเห็น

1.4 การใช้สื่อการเรียนการสอน หลักในการใช้สื่อในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้
1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่
2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่
3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน
4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่
6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่
7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี
8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่
9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่
10. ช่วยเวลาความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
ประโยชน์ของสื่อ
1. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากวัตถุที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้างแนวความคิดด้วยตนเอง

2. กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียนมากขึ้น
3. ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้งายขึ้นและสามารถจดจำได้นาน
4. ให้ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง
5. นำประสบการณ์นอกห้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษาในห้องเรียนได้แม้ว่าสื่อการสอนจะมีประโยชน์และมีคุณค่าต่อการเรียนการสอน แต่ถ้าครูผู้สอนผลิตสื่อหรือนำสื่อไปใช้ไม่ตรงตามจุดประสงค์และเนื้อหา ก็อาจทำให้สื่อนั้นไม่มีประสิทธิภาพและยังทำให้การสอนนั้นไม่ได้ผลเต็มที่ ดังนั้นครูควรมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบสื่อและการผลิตสื่อด้วย เพื่อให้สื่อนั้นมีทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอนการออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน
องค์ประกอบของการออกแบบ
1. จุด ( Dots )

2. เส้น ( Line )
3. รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form )
4. ปริมาตร ( Volume )
5. ลักษณะพื้นผิว ( Texture )
6.บริเวณว่าง ( Space )7. สี ( Color )
7. น้ำหนักสื่อ ( Value )การเลือกสื่อ การดัดแปลง และการออกแบบสื่อ (Select , Modify , or Design Materials )
การเลือกสื่อที่เหมาะสมนั้นต้องพิจารณาตามหลัก 3 ประการ คือ
1. การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษามักจะมีทรัพยากรที่สามารถใช้เป็นสื่อได้อยู่แล้ว ดังนั้น สิ่งที่ผู้สอนต้องกระทำก็คือ ตรวจสอบดูว่ามีสิ่งใดที่จะใช้เป็นสื่อได้บ้าง โดยเลือกให้ตรงกับลักษณะผู้เรียนและวัตถุประสงค์

2. การดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว ให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อด้วย
3. การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ถ้าสื่อนั้นมีอยู่แล้วและตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการ สอน เราก็สามารถนำมาใช้ได้เลยแต่ถ้ามีอยู่โดยไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายเราก็ใช้วิธีดัดแปลงได้ แต่ถ้าไม่มีสื่อตามที่ต้องการก็ต้องผลิตสื่อใหม่
การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ควรคำนึงถึง
1. จุดมุ่งหมาย ต้องพิจารณาว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนอะไร

2. ผู้เรียน ควรได้พิจารณาผู้เรียนทั้งโดยรวมว่าเป็นใคร มีความรู้พื้นฐานและทักษะอะไรมาก่อน
3. ค่าใช้จ่าย มีงบประมาณเพียงพอหรือไม่
4. ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค ถ้าตนเองไม่มีทักษะจะหาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาจากแหล่งใด
5. เครื่องมืออุปกรณ์ มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นพอเพียงต่อการผลิตหรือไม่
6. สิ่งอำนวยความสะดวก มีอยู่แล้วหรือสามารถจะจัดหาอย่างไร
7. เวลา มีเวลาพอสำหรับการออกแบบหรือไม่
http://www.lpru.ac.th/webpage_tec/webpageDuangchan/travel/knoekedg/page5.htm
การใช้สื่อการสอนนับว่ามีความสำคัญต่อการเรียนการสอนอย่างยิ่งทั้งนี้เพราะถ้าใช้สื่อการสอนไม่ถูกต้องย่อมจะได้ผลน้อยหรือมีค่าเท่ากับไม่ได้ใช้เลยหากเป็นดังนี้ย่อมไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ฉะนั้นการใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งจึงควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน และวางแผนการใช้อย่างรอบครอบการใช้สื่อการสอนในห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ควรปฏิบัติตามหลักการดังนี้ คือ
1. หลักการเลือก ( Selection)
2. หลักการเตรียม ( Preparation)
3. หลักการนำเสนอ ( Presentation )
4. หลักการประเมินผล ( Evaluation )
มีนักวิชาการและนักเทคโนโลยีการศึกษา ทั้ง ต่างประเทศและในประเทศ ได้ให้หลักการปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนดังต่อไปนี้
1) หลักการเลือก (Selection)
โนเอล และลีโอนาร์ด (Noel and Leonard. 1962 :26–28 ) ให้หลักการเลือกสื่อการสอนไว้ ดังนี้

1. มีความเหมาะสมกับระดับสติปัญญาของผู้เรียน
2. เหมาะสมกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
3. เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
4. เหมาะสมกับเรื่องที่สอน
5. มีลักษณะที่น่าสนใจ
6. ตรงกับจุดประสงค์ในการสอน
7. ไม่เสียเวลาในการใช้มากเกินไป8. เป็นแบบง่าย ๆ และไม่ซับซ้อนจนเกินไป9. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น10. ช่วยให้การเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่ผู้เรียน11. ช่วยเพิ่มทักษะให้แก่ผู้เรียน12. ให้ผลดีต่อการเรียนการสอนมากที่สุด13. ราคาไม่แพงจนเกินไป
เดล (Dale. 1969 : 175 – 179 ) ได้ให้ข้อเสนอแนะในการเลือกสื่อการสอน ไว้ดังนี้

1. สื่อการสอนนั้นจะสามารถให้แนวคิดที่ถูกต้องได้เพียงใด
2. สื่อการสอนนั้นจะสามารถสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่เรียนได้ดี เพียงใด
3. สื่อการสอนนั้น ๆ เหมาะสมกับวัย สติปัญญา และประสบการณ์ต่าง ๆของผู้เรียนเพียงใด
4. สภาพแวดล้อมเหมาะที่จะใช้สื่อการสอนนั้น ๆ หรือไม่
5. มีข้อเสนอแนะสั้น ๆ ในการใช้สื่อการสอนนั้นสำหรับครูหรือไม่
6. สื่อการสอนนั้นสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาทางด้านความคิดได้หรือไม่
อีริคสัน (Erickson. 1971 : 97– 99) แนะนำว่าครูควรเลือกสื่อการสอนโดยพิจารณาจากคำถามต่อไปนี้

1.สื่อการสอนนั้นเป็นประโยชน์ต่อหน่วยการสอน และเป็นกิจกรรมในการแก้ปัญหาประสบการณ์เฉพาะหรือไม่
2.เนื้อหาที่ต้องใช้สื่อการสอนในการสื่อความหมายนั้นเป็นประโยชน์และสำคัญต่อผู้เรียน ชุมชน และสังคมหรือไม่
3.สื่อการสอนนั้นเหมาะกับจุดประสงค์การสอนหรือเป้าหมายของผู้เรียนหรือไม่
4.มีการตรวจสอบระดับความยากของจุดประสงค์การสอนเกี่ยวกับความเข้าใจความสามารถ เจตคติ และความนิยม
5.สื่อการสอนนั้นให้ความสำคัญต่อประสบการณ์จากการคิด การโต้ตอบ การอภิปรายและการศึกษา
6.เนื้อหาที่สอนในรูปของปัญหา และกิจกรรมของผู้เรียนหรือไม่
7.สื่อการสอนนั้นให้แนวคิดที่มีความสัมพันธ์กันหรือไม่
8.สื่อการสอนนั้นให้เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับขนาด อุณหภูมิ น้ำหนัก ระยะทางการกระทำ กลิ่น เสียง สี ความมีชีวิตชีวา อารมณ์หรือไม่
9.สื่อการสอนนั้นให้ความแน่นอนและทันสมัยหรือไม่
10.สื่อการสอนนั้นปรับให้เข้ากับจุดประสงค์ที่พึงปรารถนาได้หรือไม่
11.สื่อการสอนนั้นมีรสนิยมดีหรือไม่
12.สื่อการสอนนั้นใช้ในห้องเรียนธรรมดาได้หรือไม่
13.เนื้อหาความรู้ของสื่อการสอนมีตัวอย่างให้มากหรือไม่
ลัดดา ศุขปรีดี (2523 : 61-62) ได้ให้หลักเกณฑ์ในการเลือกสื่อการสอนและประสบการณ์ในการเรียนการสอนไว้ดังนี้

1.เลือกสื่อและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายการสอน
2.เลือกสื่อและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับลักษณะการตอบสนองและพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของผู้เรียนที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้น
3.เลือกสื่อและประสบการณ์ในการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับความสามารถและประสบการณ์เดิมของแต่ละคน
4.เลือกสื่อและอุปกรณ์พิเศษที่จะหาได้การเลือกสื่อจะต้องคำนึงถึงความสะดวกในการนำสื่อการสอนนั้นมาใช้และไม่จำเป็นต้องใช้สื่อการสอนที่มีราคาแพงเสมอไป
วาสนา ชาวหา (2522 : 64) ได้เสนอแนวคิดในการเลือกใช้สื่อการสอไว้ดังนี้

1. ให้ความเหมาะสมและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม
2. เหมาะสมกับวัย กิจกรรมหรือประสบการณ์ที่จัดขึ้นเพื่อการเรียนการสอน
3. เหมาะสมกับวัยและความสนใจของผู้เรียน
4. คำนึงความประหยัดและให้ผลคุ้มค่ากับการลงทุนทั้งในด้านเงินทุนและเวลาที่เสียไป
5. ใช้ได้สะดวกและปลอดภัย
ลัดดา ศุขปรีดี (2523 : 61-62) ได้ให้หลักเกณฑ์ในการเลือกสื่อการสอนและประสบการณ์ในการเรียนการสอนไว้ดังนี้

1.เลือกสื่อและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายการสอน
2.เลือกสื่อและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับลักษณะการตอบสนองและพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของผู้เรียนที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้น
3.เลือกสื่อและประสบการณ์ในการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับความสามารถและประสบการณ์เดิมของแต่ละคน
4.เลือกสื่อและอุปกรณ์พิเศษที่จะหาได้การเลือกสื่อจะต้องคำนึงถึงความสะดวกในการนำสื่อการสอนนั้นมาใช้และไม่จำเป็นต้องใช้สื่อการสอนที่มีราคาแพงเสมอไป
ไชยยศ เรืองสุวรรณ(2526:157)กล่าวว่าการเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาเกื้อหนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพราะหากครูเลือกสื่อที่ไม่เหมาะสมเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนแล้ว การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นอาจไม่บรรลุสำเร็จตามจุดมุ่งหมายควรเลือกสื่อการสอนโดยยึดหลัก ดังนี้

1. สื่อต้องสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายและเรื่องที่จะสอน
2. สื่อที่ต้องเหมาะสมกับความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
3. เหมาะสมกับวัยและระดับของผู้เรียน
4. เนื้อหาและวิธีใช้ไม่ยุ่งยากและซับซ้อนจนเกินไป
5. น่าสนใจและทันสมัย
6. เนื้อหามีความถูกต้อง
7. เทคนิคการผลิตดี เช่น ขนาด สี เสียง ภาพ ความจริง เป็นต้น
8. เป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน
9. สามารถนำเข้าร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดี
10.ถ้ามีสื่อการสอนหลายอย่างในเรื่องเดียวกันให้กำหนดว่าสื่อใดเหมาะสมที่สุดที่จะให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้เรียนได้ดีที่สุด ในเวลาอันสั้น
สุนันท์ สังข์อ่อง(2526:16–18)ได้กำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนให้เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพครูอาจพิจารณาโดยใช้คำถามต่อไปนี้เป็นแนวทางสื่อที่จะนำมาช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เนื้อหาตามหลักสูตรหรือไม่

1. สื่อชนิดนั้นเหมาะสมกับวัยหรือระดับชั้นของผู้เรียนหรือไม่
2. สื่อชนิดนั้นให้เนื้อหาความรู้ที่ทันเหตุการณ์และเวลาในขณะนั้นหรือไม่มีความถูกต้องน่าเชื่อถือในเนื้อหาที่เสนอให้แก่ผู้เรียนมากน้อยเพียงใด
3. สื่อชนิดนี้ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียน คิดและสืบเสาะหาความรู้ได้มากกว่าที่จะไม่ใช้สื่อการสอนหรือไม่
4. สื่อชนิดนั้นช่วยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มใหญ่หรือรายบุคคลหรือไม่
5. ระยะเวลาในการเลือกสื่อการสอนนั้นเหมาะสมหรือไม่
6. สื่อชนิดนั้นเป็นที่น่าสนใจในด้านเทคนิคการผลิตหรือไม่ เช่น ลักษณะการจัดภาพเสียง ขนาด รูปแบบของการเสนอ เป็นต้น
7. คุ้มกับเวลาการลงทุนหรือไม่ ถ้าจำแนกสื่อนั้นมาใช้
8. สื่อชนิดนั้นเป็นที่ดึงดูดใจและน่าสนใจหรือไม่
9. สื่อนั้นช่วยเสนอแนะกิจกรรมอื่น ๆ ที่ผู้เรียนอาจปฏิบัติเพิ่มเติมได้หรือไม่
หลักการเตรียม (Preparation)
อีริคสันและเคิร์ล(EricksonandCurl.1972:163–170)ได้กล่าวถึงการเตรียมก่อนการใช้สื่อการสอนต้องเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนก่อนดังนี้

1. พัฒนาการสร้างความพร้อมเฉพาะอย่าง เช่น จะให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน ตอนไหน อย่างไร
2. แนะนำผู้เรียนเพื่อเป็นการเร้าให้เกิดการเรียนรู้จากสื่อที่ครูเลือกมา
3. สร้างกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสื่อการสอน
4. เลือกหาวิธีที่เหมาะสม ที่จะนำไปสู่การใช้สื่อการสอนนั้น ๆ
5. ใช้แหล่งการเรียนอื่น ๆ เพื่อสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียนนอกจากนั้นยังต้องเตรียมและควบคุมเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกและจัดสถานการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนการใช้สื่อการสอนนั้นคุ้มค่ากับเวลา และทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจ และมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนครูควรมีความสามารถและทักษะพื้นฐานดังนี้
1. สามารถใช้เครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษาได้
2. สามารถป้องกันและแก้ไขข้อขัดข้องของเครื่องมือต่าง ๆ ได้
3. สามารถจัดสภาพห้องเรียนได้ดี ถ้าเป็นการฉายก็สามารถจัดสภาพฉายได้ดี
4. สามารถติดตั้งเครื่องมือต่าง ๆ ได้
5. ติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม สะดวกต่อการใช้และการติดตามและเปิดโอกาสผู้เรียนได้เข้ามีส่วนร่วมได้เป็นอย่างดี
6. สามารถวางแผนกำหนดช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสม
บราวน์ และคณะ (Brown and others. 1983 : 69–70) ได้กล่าวถึงการเตรียมก่อนการใช้สื่อการสอนดังนี้

1. การเตรียมตัวครู หมายถึง การทดลองใช้สื่อต่าง ๆ ก่อนที่จะนำไปใช้จริงในการเรียนการสอน
2. การเตรียมสภาพแวดล้อม ได้แก่ การเตรียมวัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพการใช้งานได้ทันที และติดตั้งวัสดุและเครื่องมือได้อย่างเหมาะสม
3. เตรียมชั้นเรียน เป็นการเตรียมผู้เรียนโดยชี้แนะหรือแนะนำผู้เรียนว่า จะเรียนรู้อะไรบ้างจากสื่อ และจะต้องทำอะไรบ้างเมื่อจะใช้สื่อ
สันทัด ภิบาลสุข และพิมพ์ใจ ภิบาลสุข (2526 : 4–48) ได้กล่าวถึง การเตรียมก่อนการใช้สื่อการสอนว่า ควรเตรียมผู้สอน ผู้เรียน และชั้นเรียน ดังนี้

ก. การเตรียมตัวของผู้สอน

1. พิจารณาคุณค่า และจุดมุ่งหมายของบทเรียนที่จะสอน
2. พิจารณาความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
3. พิจารณาถึงสิ่งที่จะเป็นปัญหาในการสอน
4. การเตรียมแผนการสอน
5.จัดหาหรือผลิตสื่อการสอน ซึ่งจะแก้ปัญหาของการเรียนในชั้นเรียนที่ได้พิจารณาเลือกไว้
6. พิจารณาถึงวิธีที่จะใช้สื่อการสอนนั้นให้ได้ผลดีที่สุด
7. เตรียมและทดลองใช้สื่อการสอนก่อนการใช้จริงในห้องเรียน
8.เตรียมอุปกรณ์ หรือสื่อการสอนที่เหมาะสม เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้เรียน เช่นคำบรรยายประกอบการสอน
9. ถ้าจำเป็นต้องมีผู้ช่วยในการฉายหรือบริการอื่น ๆ ควรจะได้มีการซักซ้อมความเข้าใจกันเสียก่อน
10.จัดเรียงลำดับสื่อการสอนที่จะใช้ไว้ตามลำดับก่อนหลังที่ต้องการแล้ววางไว้ในที่เหมาะสม
ข. การเตรียมผู้เรียน
1.อธิบายให้ผู้เรียนทราบล่วงหน้าจะใช้สื่ออะไร สอนอะไร เพื่ออะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร

2.อธิบายให้ผู้เรียนทราบล่วงหน้าจะต้องมีส่วนร่วมในระหว่างการใช้สื่อการสอนอย่างไรบ้างเช่นคอยสังเกตหรือฟังตรงที่สำคัญการหาคำตอบหรือคำศัพท์ใหม่ซึ่งผู้สอนบอกหรือเขียนเอาไว้ล่วงหน้า
3.อธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจว่ากิจกรรมที่ต้องปฏิบัติหลังจากการใช้สื่อการสอนแล้วมีอะไรบ้าง
ค. เตรียมชั้นเรียน
1. เตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะต้องใช้ร่วมกับสื่อการสอนที่เลือกไว้ เช่น สายไฟ หม้อแปลง แผงติดภาพ ฯลฯ
2. ตรวจสภาพของห้องที่ใช้สื่อการสอนล่วงหน้า การจัดที่นั่ง การตั้งจอและเครื่องฉายที่จ่ายกระแสไฟฟ้า ระยะทางผู้ดูกับจอ การควบคุมแสงสว่างในห้อง ฯลฯ
3. เตรียมเครื่องมือต่าง ๆ ที่จำเป็น เช่น เครื่องฉาย เครื่องบันทึกเสียง โต๊ะจอฉาย ปลั๊กไฟ และหลอดสำรองสำหรับเครื่องฉาย
4. จัดบรรยากาศของห้องให้สะดวกสบาย เช่น การถ่ายเทอากาศ การควบคุมอุณหภูมิ การควบคุมแสงสว่าง และอื่น ๆ
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526 : 158–160 ) กล่าวว่าการเตรียมเป็นตอนที่สำคัญขั้นหนึ่งในการใช้สื่อการสอน การเตรียมเป็นการสร้างความพร้อมไม่ว่าจะเป็นตัวครู ผู้เรียนและสื่อการเรียนการสอน ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ดังนั้น ครูควรมีความรู้ ความสามารถและทักษะ ในเรื่องต่อไปนี้

1. ความรู้ความสามารถและทักษะในด้านเทคโนโลยีทางการสอน โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับ
1.1 มีทักษะในการเลือกสื่อที่จำเป็นมาใช้ในการเรียนการสอน
1.2 มีทักษะในการตัดสินใจว่า บทเรียนใดควรใช้สื่ออะไร
1.3 มีทักษะในการใช้สื่อการเรียนการสอน
1.4 สามารถผลิตสื่อการสอนอย่างง่ายได้ เช่น การผนึกภาพ แผนภูมิ ฯลฯ2.ความรู้ความสามารถและทักษะในการเตรียมสื่อการสอนในห้องเรียนสามารถประยุกต์วิธีระบบ (Systematic Approach) เข้ามาในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
2.1 เตรียมการสอน กำหนดชนิดและเวลาการใช้สื่อการเรียนการสอน
2.2 จัดหาสื่อไว้ล่วงหน้า
2.3 ทดลองใช้ เช่น ลองฟัง ลองฉายดูก่อนที่จะใช้จริง
2.4 ศึกษารายละเอียดจากคู่มือของสื่อการสอน ( ถ้ามี )
2.5จัดเตรียมสื่อการสอนอื่นๆและวัสดุจำเป็นต้องใช้ร่วมกับสื่อการสอนนั้นๆการเตรียมผู้เรียน เป็นการสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนก่อนที่จะลงมือใช้สื่อการสอน ควรปฏิบัติดังนี้
1. การใช้สื่อการเรียนการสอนบางอย่าง ครูและนักเรียนควรได้กำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอนร่วมกัน
2.ช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเรียนจากสื่อการสอนเช่นการยั่วยุให้ผู้เรียนสนใจในสื่อที่นำมาใช้ประกอบการสอนพยายามสัมพันธ์สิ่งที่เรียนรู้ใหม่ให้เข้ากับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน และให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะของสื่อการสอนที่จะใช้
3. เตรียมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมการเรียนให้มากที่สุด การเตรียมสื่อการสอนควรปฏิบัติดังนี้
3.1 ตรวจสอบสื่อการสอนว่า ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนหรือไม่โดยการทดลองใช้ก่อน
3.2 จัดลำดับสื่อการสอนให้เหมาะสมและถูกต้อง
3.3 จับเวลาการทดลองใช้สื่อ เพื่อประมาณเวลาในการใช้จริงได้ถูกต้อง
3.4 ควรตรวจสอบและเตรียมเครื่องมือให้อยู่ในสภาพการใช้งานได้ทันที
3.5 จดบันทึกหัวข้อสำคัญจากสื่อ เพื่อจะได้อธิบายเพิ่มเติมให้ผู้เรียนเข้าใจยิ่งขึ้น
3.6เตรียมอุปกรณ์และวัสดุที่จำเป็นจะต้องใช้ร่วมกับการใช้สื่อนั้นให้พร้อมเช่นขาตั้งแผนภูมิไม้ชี้สายไฟฟ้าหลอดอะไหล่ฯลฯ
การเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ โดยเฉพาะการเตรียมห้องเรียนหรือห้องที่จะใช้สื่อการสอน ควรปฏิบัติดังนี้
1.จัดเก้าอี้ให้เพียงพอ และให้ผู้เรียนมองเห็นและได้ยินเสียงอย่างชัดเจน

2.ตรวจสอบระบบแสงสว่างและการถ่ายเทอากาศในห้องเรียนให้เหมาะสม
3.ขจัดสิ่งรบกวนภายนอกที่จะเบนความสนใจของผู้เรียนให้หันเหไปทางอื่น
4.ควรจัดให้ง่ายต่อการโยกย้ายหรือจัดรูปแบบใหม่หากจำเป็นได้หลักการนำเสนอ (Presentation)
อีริคสัน และเคริ์ล(EricksonandCurl.1972:163–170)ได้กล่าวว่าเพื่อให้การนำเสนอได้ผลครูควรมีความรู้ความสามารถและทักษะ พื้นฐานดังนี้
1. เลือกกิจกรรมการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน อยากรู้ตามจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน

2. ใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นและชี้แนะ
3. ใช้การอภิปรายเพื่อนำไปสู่เนื้อหาและการสร้างมโนมติ
4. จัดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสมและสร้างกิจกรรมท้าทายในการแก้ปัญหา
5. ใช้สื่ออย่างมีลำดับ
6. จัดดำเนินการด้านการจัดสภาพการณ์ต่างๆ ในการใช้สื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้
7. สามารถจัดกลุ่มกิจกรรมให้ผู้เรียนหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ ได้ เช่น จัดป้ายนิเทศจัดมุมวิชาการ และการศึกษาค้นคว้ารายงานเพิ่มเติม เป็นต้น
ไฮนิกส์ โมเลนดา และรัสเซล (heinich. Molenda and Russel. 1985 : 34–35)ได้กล่าวถึงการนำเสนอสื่อการสอนไว้ดังนี้

1.ผู้สอนต้องวางตัวเป็นธรรมชาติ พยายามหลีกเลี่ยงกิริยาอาการต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม การพูดควรพูดให้ชัดเจน เป็นต้น
2.ผู้สอนควรยืนในที่ที่ผู้เรียนมองเห็นได้อย่างชัดเจนตลอดเวลาเพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจมีการเคลื่อนไหวอย่างพอสมควรมีการสบตากับผู้เรียนและเว้นระยะในการพูดเมื่อจะเริ่มพูดเรื่องใหม่
3. ทำให้สภาพการเรียนไม่เกิดความเครียด ควรมีการแทรกเรื่องตลกบ้างแต่เรื่องตลกต้องไม่กระทบ กระเทือนกับผู้เรียนหรือเกิดความเสียหายกับผู้เรียน
4. เสนอสิ่งที่แปลกน่าสนใจ เช่น การสรุปที่แปลกหรือการเสนอภาพที่แปลกประทับใจ
5. พยายามควบคุมให้ผู้เรียนสนใจตลอดเวลา เช่น สบตากับผู้เรียนอย่างทั่วถึง
6.การควบคุมภาพและเสียงให้สัมพันธ์กันในกรณีใช้สื่อประเภทที่ต้องฉายเช่นสไลด์ฟิล์มสตริปภาพและเสียงควรสัมพันธ์กันทั้งชนิดที่เป็นการบันทึกเสียงไว้ก่อนหรือการบรรยายการสอน
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526 : 160–162) กล่าวว่า การนำเสนอสื่อการเรียนการสอนในห้องเรียนมีหลักการสำคัญเป็นแนวปฏิบัติดังนี้

1.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม เช่น การชักถาม อภิปราย การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
2. ตอบและอธิบายข้อซักถามของผู้เรียน ชี้แนะสาระสำคัญ ขั้นตอนและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะเรียนได้จากสื่อนั้นๆตลอดจนแนะนำการเรียนรู้จากสื่อ
3. พยายามสำรวจตัวครูเองอยู่เสมอในระหว่างการใช้สื่อการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นสีหน้า ท่าทาง ในขณะที่สอนดังนี้
3.1 ในขณะที่พูดหรืออภิปราย ครูควรพูดด้วยใบหน้ายิ้มแย้มเป็นมิตรกับผู้เรียน
3.2 ใช้สายตาให้เป็นประโยชน์เพราะสายตาของครูจะช่วยให้ผู้เรียนใส่ใจติดตามบทเรียน และเป็นการสร้างวินัยในชั้นเรียนทางอ้อม
3.3 เสียงของครูต้องดังเหมาะสม มีระดับเสียง พูดด้วยความเร็วที่พอเหมาะมีการย้ำหรือเน้นเมื่อถึงตอนสำคัญ
3.4 ท่าทางและบุคลิกของครูมีอิทธิพลต่อความเชื่อ ความมั่นใจและความประทับใจต่อผู้เรียนมาก ไม่ควรมองข้ามในเรื่องนี้
3.5 การแสดง พยายามแสดงให้มากอย่างนักแสดงที่ดี พูดให้น้อยอย่างคล่องแคล่วไม่ลุกลี้ลุกลน
3.6 ปฏิบัติตนในการสอนอย่างสม่ำเสมอ เช่น เข้าสอนตรงต่อเวลาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยความมั่นใจ ท่าทางสง่างาม
3.7 แสดงท่าทางให้ความสนใจและความสำคัญต่อผู้เรียนด้วยความจริงใจและ
4. ใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างมีขั้นตอน สอดคล้องกับจังหวะเวลาและเนื้อหาตามที่ได้เตรียมหรือวางแผนไว้http://www.nitessatun.com/modules.php?

1.5 การวัดผลของสื่อและวิธีการ
หลังจากที่เราออกแบบสื่อแล้วแล้วนำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ก็ควรมีการวัดผลของสื่อ เป็นการวัดประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มค่าของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ วัดเพื่อปรับปรุงสื่อวัดผลถึงระยะเวลาที่ในการนำเสนอสื่อว่าพอเหมาะหรือมากเกินความจำเป็น การวัดผลสื่อนี้เพื่อผลในการใช้ดัดแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการนำไปใช้ในอนาคต เราสามารถที่จะนำเอาผลการอภิปรายในชั้นเรียน การสัมภาษณ์ และการสังเกตผู้เรียนมาใช้เป็นแนวทางในการวัดผลสื่อได้การติดตามและประเมินผลการใช้สื่อการสอน
โนเอล และ ริโอนาร์ด ได้ให้หลักเกณฑ์ในการติดตามและประเมินผลการใช้สื่อดังนี้ ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อติดตามผล ดังนี้
1. ร่วมกันอภิปรายเนื้อหาที่สำคัญ ในระหว่างการใช้โสตทัศนูปกรณ์
2. ร่วมกันทำความเข้าใจเนื้อหาที่ยังไม่เข้าใจ
3. ครูอธิบายความคิดรวบยอดให้เด็กเข้าใจได้ชัดเจน
4. ร่วมกันจัดกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้
5. ร่วมกันวางแผนในการนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาอื่น ๆ หรือการเรียนในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
6. ผู้สอนสำรวจดูว่าการใช้สื่อการสอนได้บรรลุตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ อาจทำได้ดังนี้
· ผู้สอนวิจารณ์ผลการเรียนโดยใช้สื่อการสอน
· ผู้สอนอาจใช้แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่การทดสอบนั้นต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมาย เช่น ถ้าต้องการทราบความเข้าใจก็ต้องออกแบบทดสอบวัดความเข้าใจ
· ไม่ควรใช้แบบทดสอบความจำ และไม่ควรใช้แบบทดสอบที่มีความซับซ้อนจนเกินไป
เอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale) ให้ผู้ใช้ประเมินผลการใช้สื่อการสอนจากคำถามที่ว่า สื่อการสอนเหล่านั้นมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้หรือไม่ เพียงไร
· ให้ภาพพจน์ที่แท้จริงในการสอน
· ให้เนื้อหาวิชาตรงตามจุดมุ่งหมาย
· เหมาะสมกับวัย สติปัญญา และประสบการณ์ของผู้เรียน
· สภาพรูปร่าง และลักษณะของโสตทัศนวัสดุเหล่านั้นเป็นที่พอใจ
· มีผู้ให้คำแนะนำแก่ครูในการใช้โสตทัศนวัสดุเหล่านั้นให้ได้ประโยชน์
· ช่วยในการสร้างมนุษยสัมพันธ์· ช่วยให้นักเรียนใช้ความคิดพิจารณา
· ให้ผลคุ้มค่ากับเวลา ค่าใช้จ่าย และความพยายามที่ได้ทำไปhttp://www.lpru.ac.th/webpage_tec/webpageDuangchan/travel/knoekedg/page5.htm

1 ความคิดเห็น:

ก้อย กล่าวว่า...

ดูดีค่ะครูเอ๊ะ เจ๋งอ่ะ